เมื่อชื่อโดเมนของเราบนผู้ให้บริการต่างๆ เช่น eNom, ThNIC, OpenSRS เป็นต้น ได้หมดอายุลง ชื่อโดเมนจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น inactive ในทันที แล้วจะถูกนำมาแสดงในส่วนของ parking page โดยที่บริการต่างๆ ที่เคยใช้งานได้บนโดเมนนั้นๆ จะถูกระงับไป เช่นเว็บไซต์ หรือ อีเมล์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการอัพเดตชื่อโดเมนขณะที่มันหมดอายุแล้ว ชื่อโดเมนยังคงสามารถใช้งานได้ โดยรอการ reactivate ภายใต้เงื่อนไขรายชื่อโดเมนที่หมดอายุลง
ปัจจุบันนี้ เราไม่รับรองว่า ช่วงเวลา 29 วัน หรือ 30-90 วัน ที่ใช้เป็นช่วงเวลาในการต่ออายุโดเมน (ที่ผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนเนมส่วนใหญ่ใช้กัน) โดยแต่ละผู้ให้บริการใช้หลักการที่แตกต่างกันไปหลังจากช่วงเวลาที่หมดอายุได้ผ่านไปแล้ว (grace period) ก่อนที่โดเมนจะเข้าสู่ช่วงเวลาไถ่ถอนหรือเรียกคืน (redemption grace period)
ปีที่ใช้ต่ออายุโดเมน (Renewal years) จะถูกเพิ่มลงในส่วนท้ายของการลงทะเบียนในช่วงเวลาปัจจุบันเสมอ (ช่วงเวลาใหม่ที่จะหมดอายุ จะเหมือนกับแจ้งเตือนก่อน เป็นเวลา 2 เดือนก่อนจะหมดอายุลง) ฉะนั้น เราไม่ควรที่จะเสียเวลา โดยให้ทำการต่ออายุโดเมนแต่เนิ่นๆ
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ ชื่อโดเมนผ่านช่วงเวลา grace period มาแล้ว
หลังจากชื่อโดเมนได้ผ่านระยะเวลาที่หมดอายุลง ชื่อโดเมนจะขึ้นสถานะ รอการเรียกคืนหรือกู้คืน (redemption status)
Redemption Grace Period หรือ RGP โดยผู้ให้บริการจะออก สถานะว่า รอการลบไปยัง รีจิสตรีหรือระบบ ซึ่งจะมีเพียงผู้ลงทะเบียนก่อนหน้านี้เท่านั้น ที่จะสามารถ กู้คืนชื่อโดเมนระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวได้ และจะถูกดึงมายังผู้ให้บริการจดทะเบียนก่อนหน้านี้ Redemption Grace Period จะใช้ชื่อต่างกันในบางผู้ให้บริการ ตัวอย่างเช่น “Pending Delete - Restorable” เป็นต้น
Pending Delete คือช่วงเวลา 5 วัน หลังจากเรียกคืนหรือกู้คืน ในช่วงเวลานี้ รีจิสทรีหรือระบบจะถือชื่อโดเมนนี้อยู่และไม่สามารถกู้คืนได้ ต่อมาจะถูกระบบลบชื่อโดเมนออกไป และจะสามารถกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คนที่ต้องการจดทะเบียนโดเมนใหม่ โดยที่จะให้บริการแบบ ใครมาก่อนได้ใช้งานก่อน